นำแสดง |
อนุชิต
สพันธุ์พงษ์, อาระตี ตันมหาพราน, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง,
ชุมพร เทพพิทักษ์,
สมภพ เบญจาธิกูล, สุเมธ องอาจ |
กำกับการแสดง |
อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ |
จัดจำหน่ายโดย |
สหมงคลฟิล์ม |
 |
ปี
2546 เป็นปีแห่งโศกนาฏกรรมของหนังไทย หนังเรียงแถวกันออกมาเจ๊งกันถ้วนหน้า
เหลือไว้ทำยา
อยู่หนึ่งเรื่องก็คือเรื่องแฟนฉัน หนังรำลึกความหลังยุคเพลงสตริงเพิ่งแจ้งเกิด
จับตลาดในทุกวัยตั้งแต่
เด็กยังคนผมหงอก ก็เลยหนีรอดคำว่าขาดทุนไปได้อย่างสบาย การสร้างหนังมาฉายสมัยนี้ต้องมีครบ
ทั้งเนื้อหา บทภาพยนต์ ฝีมือผู้กำกับ นักแสดงและสุดท้ายคือการทำตลาด
หนังไทยหลายเรื่องหลงกับ
การตลาดเหมือนหลอกคนไปดูแต่แล้วงานไม่ถึงก็ทำเอาคนดูเข็ดกันสุดท้ายหนังไทยเลยทำท่าจะตาย
ทั้งหมู่บ้านอีกแล้ว แต่แปลกน่ะครับไอ้หนังฝรั่งแย่ๆ ก็มีมากมายแต่เราก็ยังเลือกดูกันได้ดูคงเป็น
เพราะพอจะคาดเดาได้ว่าหนังดีหรือไม่ดีจากตารางบ็อกซ์ออฟฟิศในต่างประเทศกระมัง |
 |
อิทธิสุนทรผู้กำกับ |
|
และแล้วในต้นปี
2547 นี้เองก็เกิดปรากฎการณ์อันน่าชื่นใจในวงการหนังไทย
ที่ค่อยๆ แรงขึ้นคือ "ไปดูโหมโรงมาแล้วหรือยัง" เป็นคำทักทายที่ได้ฟังกันทั่วไป
หนังที่มีโรงเข้าจำกัดมีคนชมน้อยในตอนต้น ได้รับกระแสวิจารณ์โดยทั่วไปจาก
สื่อทุกสาขาและทุกแนวไม่ว่าจะเนชั่น, หม่อมถนัดศรี, ดร.เสรีและอีกหลายท่าน
ที่พร้อมใจกันเชียร์ ความดีของหนังทำให้ได้โรงและรอบฉายเพิ่มในวันที่กำหนด
ให้ถอดหนังออกจากโรง (ฮือน่าตื่นเต้นเหมือนหนังเลย) เพราะกระแสจากผู้ชม
นี่เองที่ช่วยต่อลมหายใจให้หนังเรื่องนี้
หนังเดินเรื่องแบบสลับเหตุการณ์ระหว่างศรวัยหนุ่มและวัยชราที่แสดง
ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการก้าวขึ้นสู่ยอดฝีมือทางระนาดเอก
ในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟู กับศรวัยชราที่ต้องประคับประคองดนตรีไทย
ให้อยู่รอดในยุคที่ต้องเชื่อท่านผู้นำพาชาติเจริญ ที่เห็นดนตรีไทยเป็น
ตัวถ่วงการพัฒนาไปสู่อารยประเทศ
|
 |
อดุลย์กับบทศรยามชรา |
|
 |
ศรวัยหนุ่มโลดแล่นในโลกของดนตรีไทยอย่างน่าตื่นเต้น
ดนตรีไทยที่หลายคนคิดว่าน่าเบื่อผมว่าที่
จริงแล้วดนตรีไทยในโหมโรงดูน่าตื่นเต้นเล้าใจที่สุดในโลกภาพยนตร์ที่มีการสร้างหนังเกี่ยวกับดน
ตรีมาเลยทีเดียวหล่ะ ถ้าเคยดูหนังจีนที่จอมยุทธดีดพิณแล้วแผ่นดินกระจายต้มคนดูแล้ว
โหมโรง
กลับให้ความรู้สึกถึงความรุนแรงในการประลองดนตรีโดยใช้เครื่องดนตรีที่แท้ได้อย่างเร้าใจมาก
กว่ามากนัก ความหนักแน่นรุนแรงที่ศรเล่นในตอนต้นสร้างความพ่ายแพ้ครั้งแรกกับศรอย่างหมด
รูป แนวทางใหม่ของระนาดที่ศรค้นพบเองสร้างความเร้าใจแก่ผู้ฟังขณะเดียวกันก็เกิดแรงต่อต้าน
ด้วย แต่ดนตรีที่แท้ไม่ขึ้นกับรูปแบบที่เล่น การถ่ายทอดอารมณ์จากเครื่องดนตรีให้เข้าถึงใจผู้ฟัง |
ย่อมเป็นแกนที่แท้ของดนตรี
เสียงซอที่ศรเล่นตอนครั้งแรกที่พบแม่โชตินางเอกของเรื่องทำให้
เรารู้สึกว่าผู้หญิงคนนี้สวยกว่าที่เห็นมากนักเพราะเสียงซอแสนหวานที่คอยคลออยู่นั่นเอง
ศรวัยชราได้รับการนับหน้าถือตาจากชาวบ้าน
มีลูกศิษย์ลูกหามากมายต้องประคับประคองดน
ตรีไทยในช่วงที่สังคมถูกชักนำจากท่านผู้นำในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 ถูกสร้างมาสลับไป
มากับช่วงหนุ่มโดยหนังจะทิ้งปมเรื่องเดินสลับไปมาทำให้หนังดูไม่น่าเบื่อบทสรุปตอนท้าย
ที่ศรลุกขึ้นมานั่งพื้น(ท่านผู้นำห้ามนั่งพื้นด้วยน่ะซิบอกให้) ตีระนาดไล่หลังฝ่ายบ้านเมืองนั้น
พงษ์พัฒน์เล่นได้เกือบดีมากเลยครับจากแววตาที่ไม่พอใจ เสียงระนาดที่คลออยู่ทำให้แวว
|
 |
 |
ตาเปลี่ยนเป็นยอมรับ
นั้นพี่ออฟเล่นได้เกือบดีเลยครับ
บทอาจารย์ดนตรีในวังนั้นดูขาดๆ
เกินๆ ไปหน่อยน่าจะเป็นส่วนไม่ดีที่สุดของหนังเลยกระมัง ส่วนขุน
อินนักระนาดมือเอกน่าจะเป็นนักระนาดมืออาชีพเพราะท่านเล่นได้แข็งมากแต่เล่นระนาดได้สมจริง
มาก โหมโรงเริ่มเรื่องจนจบแต่เสียงระนาดยังก้องหูผมอยู่ ตัวเนื้อเรื่องยังวนเวียนอยู่ในสมอง
หนังที่
ด ีต้องดูสนุก และให้อะไรกับคนดูบ้างเหมือนกับชีวิตศรนักดนตรีไทยที่โลดแล่นอวดฝีมือผ่านยุคสมัย
รุ่งเรืองจนตกต่ำเพียงเพราะคำว่าความศิวิไลซ์ที่ถูกตีความโดยคนที่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้ของ
คำคำนี้
|
|